วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคืออ่านเพิ่มเติม

                    
บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติในด้านการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว ส่วนในระดับชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาเพื่อที่จะได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและปฎิบัติต่อไปอ่านเพิ่มเติม

           
บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
วันมาฆบูชาเป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนสาม ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน    ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์ในวันนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ มีสี่ประการคืออ่านเพิ่มเติม

         
      
บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม ผู้ที่จะเป็นพระสงฆ์ได้จะต้องผ่านการบวชโดยวิธีหนึ่งใน 3 วิธี ได้แก่  การบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เรียกว่า เอหิกภิกขุอุปสัมปทา  การบวชด้วยการรับไตรสรณคมน์ เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา การบวชที่คณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่โดยมติเอกฉันท์ เรียกว่า ญัตติตุตถกัมมอุปสัมอุปทาอ่านเพิ่มเติม

             
บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ  พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานอ่านเพิ่มเติม

              
บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง  สมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่ออ่านเพิ่มเติม

              
บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้น เชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอนอ่านเพิ่มเติม